วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี



พระบรมธาตุไชยาเป็นเจดียสถานอันศักดิ์สิทธิ์
และสำคัญของทางภาคใต้ เป็นเจดีย์ทรงมณฑปเลียนแบบเจดีย์จันทิเมนดุทในชวา ก่อ
ด้วยอิฐ ไม่สอปูนมีเจดีย์จำลองอยู่ที่มุมทั้งสี่ ที่มียอดแหลมเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเต
ศวรสี่พักตร์ ตามคติพุทธศาสนามหายาน และตกแต่งลวดลายอิทธิพลศิลปะชวา ใน
สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปฏิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่ จึงมีลวดลายแบบรัตนโกสินทร์
ปรากฏ เมืองโบราณได้สร้างพระบรมธาตุไชยาขึ้นตามแบบอย่างเก่าสุดที่พบในชวา 

เทวรูปปัลลวะ พังงา




 เมืองโบราณถ่ายแบบเทวรูปศิลา ๑ ใน ๓ องค์ที่พบอยู่โคนต้น
ตะแบก ณ เขาพระนารายณ์ อ. กะเปอร์ พังงา เทวรูปที่พบคือ พระวิษณุพระศิวะ และ
พระ ลักษมีถูกห่อหุ้มด้วยรากไม้เหลือแต่ส่วนพระพักตร์และพระวรกายให้เห็น ลักษณะ
ศิลปะปัลลวะในอินเดียใต้ (พุทธศตวรรษที่๑๓-๑๔) ปัจจุบันเทวรูปทั้งสามองค์นี้เก็บ
รักษาอยู่ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช 

พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช



พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 
๑๐๙๘ สมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เชื่อว่าเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ 
ของพระพุทธเจ้าพระเจดีย์เป็นทรงโอคว่ำตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม เมืองโบราณสร้างพระ
บรมธาตุ นครศรีธรรมราชโดยย่อส่วนลงหนึ่งในสามขององค์จริง และสร้างตามแบบเก่า
 จริงๆ เท่าที่สืบค้นได้เพราะปูชนียสถานแห่งนี้ได้รับการบูรณะมาโดยตลอด 

สวนมโนห์รา มโนห์รา



นิยายท้องถิ่นทางใต้ที่มีเค้าเรื่องมาจากปัญญาสชาดกเรื่อง
ราวของนางกินรีคน สุดท้องนาม มโนห์รา ลงมาเล่นน้ำที่สระในป่าแล้วถูกพรานบุญ จับ
ตัว ไปถวายเป็นชายาของพระสุธน 

ศาลาในเมือง



ตามธรรมเนียมไทยโบราณนิยมสร้างศาลาไว้กลางหมู่บ้านเพื่อเป็นที่
ประชุมของ ชุมชนหรือจัดงานบุญต่างๆ และใช้เป็นที่พักคนเดินทางในขณะที่ประตู 
เมืองยังไม่เปิดเช่นเดียวกับศาลาหน้าเมือง ศาลาแห่งนี้นำแบบมาจากศาลาในวัดใหญ่อิน
ทารามชลบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเคยใช้วัดนี้เป็นที่ประชุมทัพเพื่อ ปราบ
นายทองอยู่นกเล็ก 

สวนอิเหนา



อิเหนาเป็นวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายมีต้นกำเนิดมาจากชวาเป็น
วรรณคดีที่ใช้ ถ้อยคำไพเราะ เนื้อหาชวนติดตาม เกี่ยวกับเรื่องราวความรักระหว่าง
อิเหนา กับนางบุษบาที่ต้องพบอุปสรรคต่างๆ นานา และพลัดพรากจากกันนานกว่าจะ
ครองรักกันในที่สุด ที่สวนอิเหนานี้ประดับประติมากรรมปูนปั้นรูปอิเหนาและบุษบา ตัว
ละครเอก ของเรื่อง 

ประตูเมือง



  ประตูทางเข้าเมืองโบราณได้แบบอย่างมาจากซุ้มประตูล้อมพระปรางค์
 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงศรีสัชนาลัย ที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่๑๘ เป็นประตูที่
 เก่าแก่ที่สุดในดินแดนไทย เชื่อว่าเป็นประตูชัยที่ลอดเข้าสู่สวัสดิมงคลสร้างด้วย
ศิลาแลง เป็นแบบโดรณ (แบบซุ้มประตูค่ายสารทิศ) ยอดซุ้มประตูประดับปูนปั้นรูปพระ
โพธิสัตว์ อวโลกิเตศวรสี่พักตร์ หมายถึงพระพุทธคุณที่แผ่ไปทั่วทุกสารทิศ